สารบัญ
การป้องกันเชื้อราไฟทอปธาร่าในทุเรียนและพืชอื่น ๆ
ป้องกันไฟทอป
ควบคุมเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคผลเน่าทุเรียน ที่ดื้อต่อสารป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิดโดยไคโตซานบางชนิด
งานวิจัย
งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคทุเรียน สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้จํานวน 79 ไอโซเลท สุ่มจํานวน 24 ไอโซเลท เพื่อทดสอบความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิด คือ dimethomorph, fosetyl-Al, metalaxyl และ mancozeb บนอาหาร V8 agar ด้วยวิธี poison food technique ผสมสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราที่ความเข้มข้น ครึ่งของอัตราแนะนํา, อัตราแนะนํา และสองเท่า ของอัตราแนะนํา ประเมินระดับความต้านทาน ดังนี้
การต้านทาน
ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา [resistance (FgR ) ≥ อัตราแนะนํา] และอ่อนแอต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา [sensitive (FgS ) < อัตราแนะนํา] พบเชื้อราจํานวน 7 ไอโซเลท ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา metalaxyl และเชื้อราจํานวน 5 ไอโซเลท ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา dimethomorph
โดยพบว่าจํานวน 3 ไอโซเลท จากโรคผลเน่า ของทุเรียน ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราได้ 2 ชนิด คือ dimethomotph และ metalaxyl จึงจัด อยู่ในกลุ่มต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิด (MuFgR )
การศึกษา
นอกจากนี้ศึกษาผลของไคโตซาน น้ําหนักโมเลกุลต่ำ ปานกลาง และสูง ที่ระดับความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 500, 1,000 และ 2,000 ppm ต่อการเจริญเติบโตทางเส้นใยของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคทุเรียน โดยวิธี poisoned food technique และต่อการสร้าง sporangium และการปลดปล่อย zoospores โดยวิธี culture disc technique
ผลการทดลอง
ผลการทดลอง พบว่า น้ําหนักโมเลกุลของไคโตซานทั้งสามชนิด ที่ระดับความเข้มข้น 2,000 ppm มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตทางเส้นใย และยับยั้งการสร้าง sporangium ได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ไคโตซานทุกกรรมวิธีไม่มีผลแตกต่างทางสถิติต่อการปลดปล่อย zoospores
คําสําคัญ: Phytophthora spp., ทุเรียน, ไคโตซาน, ดื้อต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิด
ขอบคุณที่มา DOI
ดิฉัน ดร.สิริพิชญ์ ส่งทวี สะโจมแสง เป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับสารอินทรีย์และเคมีอินทรีย์สำหรับพืช จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีประสบการณ์ด้านการทำวิจัยทางเคมี วัสดุ และวิศวกรรม