สารบัญ
งานวิจัยข้าวโพด กับไคโตซานสายสั้น (COS)
งานวิจัยไคโตซานสายสั้น (COS) ต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด “Influence of Degradation of Chitosan by Gamma Radiation on Growth Enhancement of Corn” จากวารสาร Energy Procedia 89 (2016 ) 395 – 400
จากงานวิจัยพบว่า ไคโตซานสายสั้นที่มีน้ำหนักโมเลกุลในช่วง 50,000 ดาลตันหรือต่ำกว่า จะช่วยเพิ่มความสูงของลำต้นข้าวโพด และยิ่งเพิ่มความเข้มข้นของไคโตซานสายสั้นก็จะยิ่งเพิ่มความสูงของลำต้นข้าวโพด เช่น 50 และ 100 ppm
จากผลการใช้ไคโตซานสายสั้นในข้าวโพดเปรียบเทียบกับไม่ใช้ไคโตซาน หลังข้าวโพดอายุได้ 77 วัน จะเห็นความแตกต่างทางการภาพได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้การใช้ไคโตซานสายสั้นยังส่งผลให้ข้าวโพดมีจำนวนฝักต่อต้นเพิ่มขึ้นและฝักข้าวโพดมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไม่ใช้ไคโตซาน
โดยจะเห็นว่าไคโตซานสายสั้นหรือไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์ (COS) ของทางเพจ SW Ionic Technology มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำกว่า 20,000 ดาลตัน ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหนักโมเลกุลของงานวิจัยดังกล่าว คือ ต่ำกว่า 10,000 ดาลตัน ถึง 50,000 ดาลตัน
ศึกษาการใช้ไคโตซานในการควบคุมโรคราน้ำค้างในข้าวโพด
สารไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ที่เป็น Oligosaccharides ซึ่งมีผลในการรบกวนการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียอย่างกว้างขวาง
- ซึ่งจัดเป็นสารต้านเชื้อรา (antifungal) โดยตรง
- ยังมีคุณสมบัติในการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านชีวเคมีในเนื้อเยื่อของพืชอาศัย โดยชักนำให้เนื้อเยื่อพืชสร้างเอนไซม์ไคดิเนสและเบต้า-1,3-กลูตาเนสที่สามารถย่อยสลายไคตินและกลูแคน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังเซลล์เชื้อราได้ จึงมีคุณสมบัติที่ดีในการต่อต้านและป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด
ในการทดสอบครั้งนี้ได้นำสารไคโตซานจำนวน 7 ชนิดมาใช้ทดสอบการควบคุมโรคราน้ำค้างข้าวโพดในเรือนปลูกพืชทดลอง โดยพ่นสาไคโตซานชนิดและความเข้มข้นต่างๆ จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน โดยพ่นครั้งแรกเมื่อข้าวโพดอายุ 5 วัน และทำการปลูกเชื้อโรคราน้ำค้างลงบนต้นเมื่อข้าวโพดอายุได้ 6 วัน พบว่าเปอร์เซ็นต์ต้นเป็นโรคราน้ำค้างของข้าวโพดพันธุ์ Tuxpeno ซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคราน้ำค้างเป็นโรคเพียง 59% สำหรับข้าวโพดทดสอบพันธุ์การค้าที่ไม่คลุกสาร ApronXL350ES เป็นโรค 60% ส่วนข้าวโพดพันธุ์การค้าที่คลุกสาร ApronXL350ES และพ่นสารไคโตซานชนิดที่ 1 และ 3 มีเปอร์เซ็นต์ต้นเป็นโรคต่ำกว่าชนิดอื่นคือเป็นโรคแค่ 51% และ 50 ตามลำดับ
การทดสอบสารไคโตซานจำนวน 7 ชนิดในแปลงทดลอง ผลการทดลองพบว่า ข้าวโพดพันธุ์ Tuxpeno ซึ่งเป็นพันธุ์อ่อนแอเป็นโรค 86.6% ข้าวโพดทดสอบพันธุ์การค้าที่ไม่คลุกสาร ApronXL350ES เป็นโรค 87.2% และพบว่าข้าวโพดทดสอบพันธุ์การค้าที่คลุกสาร ApronXL350ES และพ่นสารไคโตซานจำนวน 4 ครั้ง สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ดี โดยสารไคโตซานจำนวน 4 ชนิดสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ 100%
นอกจากนี้ประโยชน์ของไคโตซาน มีดังนี้
- ข้าวโพดฝักใหญ่เมล็ดเต็ม ได้น้ำหนัก
- ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ประหยัดต้นทุน
- ปรับสภาพดินให้ดีขึ้น
- ลดการใช้ยาฆ่าแมลง
ที่มาของบทความ
ที่มา : เคหการเกษตร. ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2550 หน้า 224-225.