สารบัญ
ข้าว พืชเศรษฐกิจหลักของชาวไทย
เมล็ดข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากของประเทศไทย ต้องการวัคซีสามารถส่งออกได้เป็นอันดับ 1 ของโลก ในปี 2557 ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นปริมาณ 10.97 ล้านตัน รวมมูลค่า 174,853 ล้านบาท (กรมการค้าต่างประเทศ, 2558) ทั้งนี้เพราะประชากรทั้งหมดในโลกมากกว่า 50% บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าประเทศไทยจะส่งออกข้าวได้ในปริมาณมาก แต่ผลผลิตเฉลี่ยของไทยกลับต่ำกว่าประเทศคู่แข่งในการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเวียดนาม ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่จึงเป็นแนวทางที่สำคัญสำหรับการพัฒนาข้าวไทย ซึ่งการผลิตของภาคการเกษตรที่ผ่านมามุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตเพื่ออุตสาหกรรมและการส่งออก โดยมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูง สภาพดินเสื่อมโทรม มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค ปัจจุบันจึงมีการใช้สารชีวภาพการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
ไคโตซาน หนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
ไคโตซาน จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากไคโตซานเป็นสารโพลิเมอร์จากธรรมชาติ จึงปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ไคโตซานยังมีสมบัติเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช สามารถเพิ่มอัตราการงอกและการรอดชีวิตของต้นกล้า กระตุ้นการเจริญและเพิ่มปริมาณผลผลิต ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วและมากขึ้น รวมทั้งมีผลต่อ enzyme phenylalanine ammonialyase (PAL), peroxidase และ polyphenol oxidase อาจส่งผลต่อการสังเคราะห์สารซาลิไซลิกเพิ่มขึ้นได้ เพราะ PAL เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารซาลิไซลิก เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การสร้างโปรตีน pathogenesis-related (PR-proteins) และ proteinase inhibitors ในระบบภูมิคุ้มกันแบบ systemic acquired resistance (SAR) รวมถึงการสร้างสารกลุ่ม reactive oxygen species (ROS) เพื่อทำลายเชื้อโรคซึ่งเป็นการป้องกันตัวเองแบบ local acquired resistance และการเกิด hypersensitive defense reaction ทั้งนี้การตอบสนองที่ดีของพืชต่อไคโตซานขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไคโตซานที่ใช้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความเข้มข้นของไคโตซานที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต ปริมาณกรดซาลิไซลิก และสารประกอบฟีนอลในข้าว
ไคโตซาน ช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างไร?
ผลของไคโตซานเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณสารทุติยภูมิในข้าว The effect of chitosan on enhanced yield and secondary metabolite compounds in rice
การศึกษาผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต ปริมาณกรดซาลิไซลิก และสารประกอบฟีนอลในข้าว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 8 ซ้ำ (กระถาง) และ 5 ตำรับทดลอง คือ การให้ไคโตซานที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน 0 มก./ล., 1.2 มก./ล., 2.4 มก./ล., 1.2 มก./ล. ร่วมกับการให้ปุ๋ยจุลธาตุ และ 2.4 มก./ล. ร่วมกับการให้ปุ๋ยจุลธาตุ การบันทึกข้อมูล ได้แก่ ความสูง จำนวนกอ น้ำหนักเมล็ดรวม เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี และปริมาณผลผลิต ผลการทดลองพบว่าการให้ไคโตซานที่ความเข้มข้น 1.2 มล/ล ร่วมกับการให้ปุ๋ยจุลธาตุ ส่งเสริมให้ข้าวมีการเจริญเติบโตดี และผลผลิตสูงสุด ขณะที่การให้ไคโตซานปริมาตร 2.4 มก./ล ส่งผลให้ปริมาณกรดซาลิไซลิก และสารประกอบฟีนอลในใบข้าวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้พืชมีภูมิต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลง
คำสำคัญ
คำสำคัญ: กรดซาลิไซลิก, ข้าว, ไคโตซาน, ผลผลิต, สารประกอบฟีนอล
ขอบคุณที่มา
ที่มา KHON KAEN AGR. J. 45 SUPPL. 1 : (2017).