สารบัญ
การใช้สารสกัดจากไคโตซานในการควบคุมโรคและแมลงศัตรูกุหลาบและผลต่ออายุการปักแจกันหลังการเก็บเกี่ยว
Effect of Chitosan to Control Roses ’s Diseases and Roses ’s insects for extend self – life after harvest
การวิจัยการใช้สารสกัดจากไคโตซานในการควบคุมโรคและแมลงศัตรูกุหลาบและผลต่ออายุการปักแจกันหลังการเก็บเกี่ยว
โดยมีวัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงสภาพดินก่อนทำการทดลอง
- เพื่อศึกษาผลของสารสกัดไคโตซานต่อการป้องกันโรคและแมลงศัตรูกุหลาบ
- ผลต่ออายุการปักแจกันหลังการเก็บเกี่ยว
โดยทำการทดลองในพื้นที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งนี้แบ่งการทดลองไว้ 3 ระยะดังนี้
ผลการศึกษาในระยะที่ 1
พบว่าสภาพก่อนการทดลองดินมีปริมาณธาตุอาหารในดินค่อนข้างต่ำและไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช แต่เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับสภาพดิน พบว่าปริมาณธาตุอาหารในดินจากเดิมดังนี้ค่า pH P K และ O.M. จากเดิม 4.55, 175 ppm , 246 ppm และ 1.57 % ตามลำดับโดยเพิ่มเป็น 5.80, 230 ppm, 520 ppm และ 3.00 % ตามลำดับ โดยค่าดังกล่าวบอกให้ทราบว่าสามารถปลูกพืชได้
การทดลองระยะที่ 2
ศึกษาการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของกุหลาบ พบว่า ความเข้มข้นของไคโตซานที่ระดับ 0.1 % สามารถควบคุมการเข้าทำลายของโรคกุหลาบได้ดีที่สุด โดยพบว่ามีการเข้าทำลายของแมลง 9.33 % การทำลายของโรค 9.00 % และมีจำนวนดอกเฉลี่ย 14.94 ดอก ทั้งนี้ดอกมีความยาวของก้านดอกมากที่สุดคือ 11.77 เซนติเมตร
การทดลองระยะที่ 3
ศึกษาผลของไคโตซานต่ออายุการปักแจกันของกุหลาบพบว่า กุหลาบที่พ่นด้วยไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 0.5 % มีอายุการปักแจกันสูงที่สุดเฉลี่ย 4.33 วัน
นอกจากนี้ยังช่วยชะลอการบาน ลดการโค้งงอของคอดอกได้ดีที่สุด และจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กุหลาบที่พ่นด้วยไคโตซานความเข้มข้น 0.1 % สามารถช่วยลดการสูญเสียน้ำหนักสด ลดการสูญเสียคลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์บี และ คลอโรฟิลล์รวมได้ดีที่สุดและจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
ทีมา http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/799