อ้อย กับการให้ไคโตซาน

วัคซีนอ้อย

วัคซีนอ้อย

การให้ไคโตซานเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต คุณภาพผลผลิต และปริมาณสารทุติยภูมิในอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3

บทความนี้ได้ศึกษาผลของการให้ไคโตซานเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต คุณภาพผลผลิต และปริมาณสารทุติยภูมิในอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค จำนวน 4 ซ้ำ และ 5 ตำรับทดลอง คือ

  • ตำรับที่ 1 การให้ไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 0 มก./ล.
  • ตำรับที่ 2 การให้ไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 12 มก./ล.
  • ตำรับที่ 3 การให้ไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 24 มก./ล.
  • ตำรับที่ 4 การให้ไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 12 มก./ล. ร่วมกับการให้ปุ๋ยจุลธาตุ (แร่ธาตุอาหารเสริมในพืช)
  • ตำรับที่ 5 การให้ไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 24 มก./ล. ร่วมกับการให้ปุ๋ยจุลธาตุ (แร่ธาตุอาหารเสริมในพืช)

ผลการทดลอง

ผลการทดลองพบว่า การให้ไคโตซานสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตด้านความสูง จำนวนลำ และผลผลิตของงอ้อย โดยการให้ไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 12 และ 24 มก./ล. ร่วมกับการให้ปุ๋ยจุลธาตุเป็นอัตราที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของอ้อย ขณะที่การให้ไคโตซานสามารกระตุ้นการสร้างกรดซาลิกไซลิก และสารประกอบฟีนอลในใบอ้อยเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ

คำสำคัญ: กรดซาลิกไซลิก, ไคโตซาน, ผลผลิต, สารประกอบฟีนอล, อ้อย

ที่มา

ที่มา ภคพล สุราจร, พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง, กษิดิ์เดช ธีรนิตยาธาร

 และ ศุภชัย อำคา 224 แก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ 1 : (2560).

จำหน่ายสินค้า โดย SWIONICTECH

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ กด "MORE INFO" เพื่ออ่านเพิ่มเติม หรือกด "ACCEPT" เพื่อยอมรับข้อตกลงในการเก็บข้อมูล