สารบัญ
ไคโตซานต่อผลผลิตข้าวเจ้าหอมนิล
ผลของไคโตซานต่อผลผลิตข้าวเจ้าหอมนิล 2 ฤดูกาล Effect of chitosan on yield in Hom-nin rice two seasons
การประยุกต์ใช้ไคโตซานต่อผลผลิตข้าวเจ้าหอมนิล โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จัดสิ่งทดลองแบบ 2×6 Factorial จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยที่ 1
ฤดูกาลปลูก แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ฤดูปลูกที่หนึ่งช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558 และฤดูปลูกที่สองช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 – พฤษภาคม 2558
ปัจจัยที่ 2
ความเข้มข้นของไคโตซาน ได้แก่ 0, 2, 4, 8, 10 และ 16 มล./ล.
สรุป
พบว่า ฤดูกาลปลูกไม่มีผลต่อความยาวรวง น้ำหนักเมล็ดรวม เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี และเมล็ดลีบ
แต่มีผลต่อน้ำหนัก 1,000 เมล็ดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ส่วนความเข้มข้นของไคโตซานมีผลต่อความยาวรวง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดรวม และเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งช่วยลดเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบได้ถึง 24.94% เมื่อเทียบกับชุดควบคุม โดยการให้ไคโตซานที่ความเข้มข้น 8, 10 และ 16 มล./ล. ทำให้ผลผลิตข้าวเจ้าหอมนิลเพิ่มขึ้น
คำสำคัญ
คำสำคัญ: ไคโตซาน, ข้าวเจ้าหอมนิล
ที่มา
ที่มา KHON KAEN AGR. J. 44 SUPPL. 1 : (2016). แก่นเกษตร 44 ฉบับพิเศษ 1 : (2559)
ดิฉัน ดร.สิริพิชญ์ ส่งทวี สะโจมแสง เป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับสารอินทรีย์และเคมีอินทรีย์สำหรับพืช จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีประสบการณ์ด้านการทำวิจัยทางเคมี วัสดุ และวิศวกรรม