สารบัญ
การใช้สารไคโตซานในการป้องกันกําจัดโรคลําต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน
Controlling Basal Stem Rot of Elaeis guineensis by Using Chitosan
งานวิจัย
งานวิจัยนี้ทําการศึกษาประสิทธิภาพของสารไคโตซานต่อการเจริญของเส้นใยรา Ganoderma sp. สาเหตุโรคลําต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน ด้วยวิธี poisoned food
พบว่าอาหาร PDA ผสมสารไคโตซานที่ ความเข้มข้น 1000 5000 10000 50000 และ100000 ppm. มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของ เส้นใยรา 0.12 1.41 1.88 21.15 และ 35.25 เปอร์เซ็นต์ตามลําดับ
ผลการทดสอบ
ผลการทดสอบด้วยวิธี paper disc diffusion พบว่าสารไคโตซานทุกความเข้มข้นที่ใช้ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยรา Ganoderma sp. ได้โดยไม่พบบริเวณการยับยั้งรอบกระดาษกรองที่หยดสารไคโตซาน
จากนั้นได้ทําการทดสอบประสิทธิภาพสารไคโตซานในการป้องกันกําจัดโรคลําต้นเน่าของปาล์มน้ำมันในระยะต้น กล้า วางแผนการทดลองแบบ RCB 7 กรรมวิธี 5 ซ้ำ
พบว่ากรรมวิธีที่ปลูกเชื้อและรดด้วยสารไคโตซาน ที่โคนต้นอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร (อัตราแนะนําที่ฉลาก) ทุก 10 15 20 และ 25 วัน มี เปอร์เซ็นต์ต้นเป็นโรค 46.67 39.98 53.33 53.33 เปอร์เซ็นต์มีระดับการเกิดโรคเท่ากับ 1.60 1.60 2.07 2.13 และมีค่าดัชนีความรุนแรงของโรคเท่ากับ 40.00 39.99 51.66 53.33 ตามลําดับ
สรุป
ซึ่งค่าระดับการเกิดโรคและค่าดัชนีความรุนแรงของโรคที่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับ กรรมวิธีที่ปลูกเชื้อแต่ไม่รดสารไคโตซาน ที่มีระดับการเกิดโรคเท่ากับ 2.87 ดัชนีความรุนแรงของโรค เท่ากับ 69.44 และเปอร์เซ็นต์ต้นเป็นโรค 80 เปอร์เซ็นต์
ดิฉัน ดร.สิริพิชญ์ ส่งทวี สะโจมแสง เป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับสารอินทรีย์และเคมีอินทรีย์สำหรับพืช จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีประสบการณ์ด้านการทำวิจัยทางเคมี วัสดุ และวิศวกรรม