สารบัญ
COS สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตร
- ยับยั้งเชื้อราบางชนิดที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคพืช เช่น โรคยางตายนึ่ง !!!
- กระตุ้นให้พืชงอกราก เกิดใบใหม่
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหลาย ๆ ชนิด เช่น ข้าว กล้วยไม้รองเท้านารีลูกผสม
เนื่องจาก COS สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช และกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง
ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตัวเองหลายชนิด เช่น สร้างสารโมเลกุลขนาดเล็ก พวกฟีนอลิก ไฟโตอเล็กซิน (phytoalexin) และสร้าง pathogenesis related proteins (PR protein) ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิดที่สำคัญๆ เช่น เอนไซม์ -1,3-glucanase, peroxidase, chitinase และ superoxide dismutase ส่งผลให้ช่วยลดโอกาสที่จะถูกคุกคามจากศัตรูพืชชนิดต่างๆ ได้
อีกทั้งยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในการกำจัดศัตรูพืชได้อีกด้วย
นอกจากนี้ COS การยับยั้งการเจริญของเชื้อไฟท็อปทอร่าได้ดีกว่าไคโตซาน แต่มีการยับยั้งในบริเวณที่ต่างกัน
สารสร้างปฏิชีวนะซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ เรียกว่า ไฟโตอเล็กซิน โดยจะผลิตโปรตีนขึ้นมาทำลายเชื้อโรค เรียกว่า พาโทเจเนซิส รีเลทเต็ด โปรตีน (PR-protein) ได้แก่เอนไซม์ไคติเนส เอนไซม์ -1, 3-กลูคาเนส โปรติเอสอินฮิบิเตอร์ และเกิดกระบวนการลิกนิฟิเคชัน เพื่อกักบริเวณเชื้อโรคไม่ให้ลุกลามต่อไปยังเซลล์ข้างเคียง
จากที่กล่าวข้างต้น ทำให้เห็นถึงความสำคัญของโอลิโกไคโตซานต่อกลไกการป้องกันโรคในต้นยางพารา
- เพื่อให้ต้นยางพารามีความทนทานต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น
- อาจจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วย
นอกจากนี้การนำ COS ที่ผลิตได้จากเปลือกกุ้ง กระดองปู และเห็ดพื้นบ้านซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากมายในประเทศมาประยุกต์ใช้ในการยับยั้งเชื้อราและสร้างภูมิต้านทานโรคในพืช ซึ่งเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร
ที่มา วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 ฉบับพิเศษ 2555 จากงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 22 ปี 2555
ดิฉัน ดร.สิริพิชญ์ ส่งทวี สะโจมแสง เป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับสารอินทรีย์และเคมีอินทรีย์สำหรับพืช จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีประสบการณ์ด้านการทำวิจัยทางเคมี วัสดุ และวิศวกรรม