สารบัญ
เกษตรกรหลายท่านคิดว่าโรคพืชจะลดลงในช่วงอากาศหนาว
ความเป็นจริงแล้ว…ช่วงหน้าหนาวอากาศจะเย็นลง แห้ง และลมแรง จะทำให้มีการระบาดของโรคพืชได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา ตัวอย่างเช่น
1.โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis
พบได้บ่อยในกลุ่มพืชจำพวกแตงต่างๆ เช่น เเตงโม ฟักทอง แตงกวา เมล่อน รวมถึงข้าวโพดหวาน ยิ่งช่วงหน้าหนาว โอกาสที่การระบาด และลุกลามมีสูงขึ้น
2. โรคราแป้งในกุหลาบ (powdery mildew) เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อ Oidium sp.
มีลักษณะอาการคือ มีเชื้อราสีขาวลักษณะคล้ายแป้ง เกิดปกคลุมผิวใบ และอาจขยายลุกลามปกคลุมกิ่งและลำต้น ทำให้ใบเหลือง ต่อมาจะเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาลใบและกิ่งแห้ง
3. โรคราสนิม (rust) เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อ Puccinia sp.
มีลักษณะอาการคือ
- ด้านบนใบเป็นจุดสีเหลืองอ่อน เมื่อพลิกดูด้านหลังใบจะเป็นตุ่มแผลนูน มีผงสีขาวอมเหลืองและสีเทา
- ใบมีลักษณะพองหรือบิดเบี้ยว ถ้าเป็นกับดอกตูมจะทำให้กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแห้ง ไม่คลี่บาน
ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของโรคที่เราจะพบเจอได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศหนาว
ไบโอคอสมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อสาเหตุของโรคพืชรักษาและสร้างภูมิต้านทานโรคได้
ไคโตซานสามารถยับยั้งเชื้อ สาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช เพื่อที่จะช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช ในกรณีที่เกิดเชื้อโรคพืชแล้วและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ
โดยไคโตซานมีคุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นพืช โดยจะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิด พืชจึงลดโอกาสที่จะถูกคุกคามโดยเชื้อสาเหตุโรคพืชได้
- ไวรัสโรคพืช
- แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด
- เชื้อรา เช่น ไฟทอปธอร่า พิเทียม Botrytis cineres Rhizopus stolonifer แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติดราขาว รากเน่า -โคนเน่า โรคใบจุด โรคใบสีส้มข้าว ใบลาย
วิธีการใช้ ฉีดพ่นทางใบ 10 – 50 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน
ที่มา : Facebook fanpage SV group
ดิฉัน ดร.สิริพิชญ์ ส่งทวี สะโจมแสง เป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับสารอินทรีย์และเคมีอินทรีย์สำหรับพืช จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีประสบการณ์ด้านการทำวิจัยทางเคมี วัสดุ และวิศวกรรม