สาเหตุโรคผลเน่าทุเรียน ที่ดื้อต่อสารป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิดโดยไคโตซานบางชนิด

durian durio zibethinus king tropical fruit hanging tree plantation agricultural industry orchard farming thailand

สาเหตุโรคผลเน่าทุกเรียน

ควบคุมเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคผลเน่าทุเรียน ที่ดื้อต่อสารป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิดโดยไคโตซานบางชนิด

seasonal durian is being sold traders export china

การวิจัย

เก็บรวบรวมเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคทุเรียน สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้จํานวน 79 ไอโซเลท สุ่มจํานวน 24 ไอโซเลท เพื่อทดสอบความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิด คือ dimethomorph, fosetyl-Al, metalaxyl และ mancozeb บนอาหาร V8 agar ด้วยวิธี poison food technique ผสมสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราที่ความเข้มข้น ครึ่งของอัตราแนะนํา, อัตราแนะนํา และสองเท่า ของอัตราแนะนํา ประเมินระดับความต้านทาน ดังนี้ ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา [resistance (FgR) ≥ อัตราแนะนํา] และ อ่อนแอต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา [sensitive (FgS) < อัตราแนะนํา] พบเชื้อราจํานวน 7 ไอโซเลท ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา metalaxyl และเชื้อราจํานวน 5 ไอโซเลท ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา dimethomorph โดยพบว่าจํานวน 3 ไอโซเลท จากโรคผลเน่าของทุเรียน ต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราได้ 2 ชนิด คือ dimethomotph และ metalaxyl จึงจัดอยู่ในกลุ่มต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหลายชนิด (MuFgR) นอกจากนี้ศึกษาผลของไคโตซานน้ําหนักโมเลกุลต่ํา ปานกลาง และสูง ที่ระดับความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 500, 1,000 และ 2,000 ppm ต่อการเจริญเติบโตทางเส้นใยของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคทุเรียน โดยวิธี poisoned food technique และต่อการสร้าง sporangium และการปลดปล่อย zoospores โดยวิธี culture disc technique ผลการทดลอง พบว่า น้ําหนักโมเลกุลของไคโตซานทั้งสามชนิด ที่ระดับความเข้มข้น 2,000 ppm มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตทางเส้นใย และยับยั้งการสร้าง sporangium ได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ไคโตซานทุกกรรมวิธีไม่มีผลแตกต่างทางสถิติต่อการปลดปล่อย zoospores

sweet creamy durian garden laying leaves green background

ที่มา

ที่มา พรประพา คงตระกูล และผู้แต่งคนอื่นๆ. (2558) ควบคุมเชื้อรา Phytopthora spp. สาเหตุโรคผลเน่าทุเรียน ที่ดื้อต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราหลายชนิดโดยไคโตซานบางชนิด. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร:ม.ป.ท.

close up durain tree thailand fruits concept

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ กด "MORE INFO" เพื่ออ่านเพิ่มเติม หรือกด "ACCEPT" เพื่อยอมรับข้อตกลงในการเก็บข้อมูล