เรามาทำความรู้จักกับสารป้องกันแรงดันออสโมติกในพืช

สารป้องกันแรงดันออสโมติกในพืช
biostimulant

สารป้องกันแรงดันออสโมติกในพืช คืออะไร?

หลายคนคงสงสัยว่ามีสารตัวนี้ด้วยเหรอ? หรือบางคนเพิ่งเคยได้ยินจากเพจ BioCOS เทคโนโลยีการเกษตร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสารป้องกันแรงดันออสโมติก (osmoprotectant) ว่าคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อพืช? เราสามารถใช้สารป้องกันแรงดันออสโมติกในการทำการเกษตรอย่างไร? เรามีคำตอบให้ครับ

ปัญหาที่พบเจอ

ปัญหาการเกษตรส่วนหนึ่งมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาวะโลกร้อน อุณหภูมิอากาศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับว่าเป็นสภาวะเครียดของพืชที่เป็นอันตรายที่สุด และเป็นปัญหาสำคัญของภาคเกษตรทั่วโลก เนื่องจากส่งผลกระทบในการจำกัดการเจริญเติบโต และพัฒนาการของพืช  สามารถทำลายโครงสร้าง และกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืช การปรับปรุงพันธุ์พืชให้สามารถทนทานต่อสภาวะอุณหภูมิสูงจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของนักวิจัยเพื่อเกษตรกร จากการศึกษากลไกการหลีกเลี่ยงหรือปรับตัวของพืชจากอุณหภูมิสูง พบว่า พืชมีการขนส่งอิเล็กตรอน มีการสร้างโปรตีน มีการสร้างสารป้องกันแรงดันออสโมติก มีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณเพื่อให้พืชเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีภายในพืช อนุมูลอิสระ (reactive oxygen species; ROS) เป็นกลไกหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อพืชอยู่ในสภาวะเครียดจากความร้อนเป็นต้นเหตุในการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) และกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืช พืชที่ทนทานต่อความร้อนสามารถป้องกันผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายจาก ROS ได้ด้วยการสังเคราะห์เอนไซม์ในการต้านอนุมูลอิสระ (enzymatic antioxidants) สารต้านอนุมูลอิสระ (non-enzymatic antioxidants) และกระบวนการ detoxification นอกจากนี้ยังพบว่า พืชมีการสะสมสารป้องกันแรงดันออสโมติก (osmoprotectants) และสร้างโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูง

hydric and oxidative homeostasis

สารป้องกันแรงดันออสโมติก

สารป้องกันแรงดันออสโมติก (osmoprotectant) เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของน้ำ และแรงดันออสโมติกภายในเซลล์พืชกับสิ่งแวดล้อม ทำให้พืชสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ กลไกในการสะสมสารป้องกันแรงดันออสโมติกมี 2 แบบคือ การสังเคราะห์ขึ้นด้วยเซลล์สิ่งมีชีวิตเอง(osmoprotectant synthesis) และการนำสารป้องกันแรงดันออสโมติกจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์สิ่งมีชีวิต(osmoprotectant uptake)

ประเภทของสารป้องกันแรงดันออสโมติก

สารป้องกันแรงดันออสโมติกมีหลายประเภท ได้แก่ ไขมัน น้ำตาล อนุพันธ์ของน้ำตาล (กรดอะมิโนและอนุพันธ์ของกรดอะมิโน) เป็นต้น

i-บาลานซ์

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ผลิตภัณฑ์ I-Balance ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สกัดจากพืช ซึ่งทำหน้าที่สารป้องกันแรงดันออสโมติกในพืช ช่วยกระตุ้นให้พืชปรับสมดุลต่อสภาะอากาศที่เกิดจาก ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” โดยเฉพาะสภาวะแห้ง ความเค็ม และการขาดน้ำ I-Balance สามารถส่งเสริมพืชในด้านต่างๆดังนี้

  • ปรับสภาวะการสังเคราะห์แสงให้อยู่ในสภาวะปกติ
  • ปรับระดับการไหลเวียนน้ำเลี้ยง
  • ควบคุมแรงดันออสโมติก ธาตุอาหาร
  • ช่วยสร้างสมดุลเนื้อเยื่อพืชให้สมบูรณ์
  • ป้องกันพืชจากความเครียด
  • ปรับสมดุลน้ำในเซลล์
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ กด "MORE INFO" เพื่ออ่านเพิ่มเติม หรือกด "ACCEPT" เพื่อยอมรับข้อตกลงในการเก็บข้อมูล