สารบัญ
ไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์ (Chitosan oligosaccharides; COS) คืออะไร?
ไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์ หรือ ไคโตซานโอลิโกเมอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คอส (COS) คือไคโตซานสายสั้นๆที่เกิดจากการย่อยหรือตัดสายโซ่ไคโตซานสายยาวด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น ปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาของเอนไซม์ การใช้รังสี หรือการใช้ความร้อน เป็นต้น จุดเด่นของไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์ หรือคอส (COS) ละลายน้ำได้และมีประสิทธิภาพการดูดซึมดีกว่าไคโตซาน แสดงดังรูปที่ 1 ดังนั้นจะเห็นว่าไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์จึงมีมูลค่าสูงกว่าไคตินและไคโตซานมากซึ่งไคโตซานยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนักเนื่องจากปกติจะอยู่ในรูปพอลิเมอร์ทำให้การดูดซึมนำไปใช้ไม่ดีมากนัก และข้อจำกัดในเรื่องการละลายน้ำเมื่อเทียบกับคอส (COS) โดยไคโตซานไม่ละลายน้ำ แต่สามารถละลายได้ในกรดอินทรีย์ เช่น กรดอะซีติก กรดแลกติก และกรดซิตริก เป็นต้น ขณะที่ คอส (COS) สามารถละลายน้ำได้ดี ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนไคโตซานที่อยู่ในรูปพอลิเมอร์ให้เป็นโอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) หรือ เป็นโอลิโกเมอร์ (Oligomer) ซึ่งพืชหลายชนิดมีไคโตซาเนสที่มีค่ากิจกรรมจำเพาะสูงจะเปลี่ยนไคโตซานเป็นไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ได้ดี
รูปที่ 1 แสดงน้ำหนักโมเลกุล การละลายน้ำ และการย่อยกานดูดซึมของ ไคติน ไคโตซาน และไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์
ไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์ (Chitosan oligosaccharides; COS) ของ SW Ionic Tech แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร?
เราผลิตไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์ด้วยเทคโนโลยีการย่อยสายโซ่ด้วยความร้อนสูง ทำให้การเก็บรักษา COS อยู่ได้ยาวนานมากกว่า 2 ปีไม่เสียง่าย โดยใช้วัตถุดิบตั้งต้นเป็นไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (Low molecular weight chitosan) ที่เป็นเกรดอาหารหรือ food grade หลังผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่อุณหภมิสูงและในเวลาที่เหมาะสมจะได้ COS ที่มีสมบัติเหมาะสำหรับพืช
ปัจจุบันเรามีขายส่งและขายปลีก สำหรับการนำ COS ไปเป็นส่วนผสมหรือองค์ประกอบเพื่อใช้สำหรับพืช จากงานวิจัย พบว่าไคโตซานโอลิโกแซคคาร์ไรด์ molecular weight ในช่วง 5,000–10,000 Da สามารถควบคุมโรคในพืชได้ดี เช่น ใน ข้าวสาลี
สรุป 8 ข้อดีและลักษณะเฉพาะของ COS ของ SW Ionic Tech
- เป็นไคโตซานสายสั้น โอลิโกเมอร์ขนาดเล็ก Molecular weight < 5000 Da
- สีดำใส ไม่ตกตะกอน เก็บได้นาน 2 ปี ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน มีขนาดอนุภาคเมื่ออยู่ในน้ำ วัดขนาดอยู่ในช่วง 200-400 นาโนเมตร ด้วยเทคนิค Dynamic light scattering (DLS) ดูดซึมได้ไวมากๆ เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดเล็ก แสดงดังรูปที่ 2
- ละลายน้ำได้ดี ไม่หนืด สามารถใช้ร่วมกับกรดอะมิโน
- มีสมบัติยับยั้งและป้องกันเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
- มีความเข้มข้นสูง สามารถผลิตได้ถึง 10% (w/v) ปกติใช้ 5% (w/v)
- ทำหน้าที่เป็นสารเร่งเชิงชีวภาพ และสารคีเลตช่วยดูดซึมธาตุอาหารของพืช ปรับปรุงดิน
- เป็นสารธรรมชาติ สารออร์แกนนิค มีความปลอดภัยต่อคน สัตว์และพืช และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สามารถใช้ได้กับพืชทุกประเภท แสดงดังรูปที่ 3 และใช้สารปรับปรุงดิน
รูปที่ 2 แสดงภาพ COS และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope; SEM) กำลังการขยาย 50,000X
รูปที่ 3 แสดงการนำ COS ไปใช้ในด้านต่างๆ